คงรู้กันอยู่แล้วใช่หรือไหมว่า อะไรเป็นหนึ่งในการทำให้ฟันของเราผุ “แบคทีเรีย” ใช้มั้ย ถูกต้องแบคทีเรียก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันของเราเนี่ยผุ ใครๆ ก็รู้เรื่องนี้ดี! แต่รู้หรือเปล่า ? แบคทีเรียในช่องปากสามารถช่วยต้านการเกิดฟันผุได้ (
ฮึ.. อะไร ไม่จริงอ่า มั่วแล้ว อ่านผิดหรือเปล่า) เป็นเรื่องจริงครับผม ที่แบคทีเรียในช่องปากของเราเนี่ยทำให้เราฟันผุก็สามารถทำให้ป้องกันฟันผุให้เราได้ด้วย(คงอยากรู้กันแล้วละซี่ ข้องใจๆ ฮา ฮา ฮ่า
)



มนุษย์เพื่อค้นหาวิธีป้องกันต่างๆ จนได้ไปพบกับแบคทีเรียชนิดนึงที่อยู่ในช่องปากของเราเนี่ย สามารถป้องกันฟันผุได้
ซึ่งมันมีชื่อเรียกว่า แลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ เอสดี 1 (Lactobacillus paracasei SD1) โดยเหล่าทันตแพทย์ได้นำเชื้อเจ้า แลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ จากสายพันธุ์นึงมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อยับยั้งการเกิดโรคฟันผุได้ เพราะเจ้า แลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ เอสดี 1 มีความสามารถในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคฟันผุได้

ที่จริงก็ไม่ได้มีแต่เจ้า แลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ ชนิดเดียวหรอกที่สามารถป้องกันฟันผุได้ อย่าง โพรไบโอติก ที่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อที่จะได้เสริมสุขภาพและป้องกันโรคอื่นๆ และแบคทีเรียที่ถูกนำมาใช้เป็นพวกโพรไบโอติก เองก็มีอีกหลายชนิดด้วยกัน แต่หลักๆ เขาจะใช้เจ้า แลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ มากกว่าเพราะถ้าอ่านกันดีๆ จะรู้สึกคุ้นหูในชื่อของเจ้าแลคโตบาซิลลัส (แลคโตบาซิลลัส มักถูกนำมาใช้ผสมกับพวก นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ที่เรากินกันบ่อยๆ ไง) ซึ่งที่ผ่านมามีรายงานวิจัยการประยุกต์ให้เชื้อเหล่านี้ มาเสริมสุขภาพในช่องปาก ซึ่งพบว่าเชื้อบางชนิดยังสามารถลดอัตราการเกิดโรคฟันผุได้ แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างคือสามารถเกาะติดในช่องปากได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากไม่ใช่เชื้อจากช่องปากโดยตรงเพราะไม่ได้มาจากแหล่งกำเนิด ถึงอย่างนั้น แม้ว่าการทดลองจะประสบความสำเร็จ และมีการนำเอา แลคโตบาซิลลัส พาราคาไซ เอสดี 1 ชนิดนี้ไปผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ได้จริง ในการลดเชื้อก่อโรคฟันผุ แต่จะเป็นเพียงการลดสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฟันผุเท่านั้นเอง เพราะการที่เราจะฟันผุมันเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุประกอบกัน อย่างเช่น เกิดจากความแตกต่างของโครงสร้างของฟันในแต่ละคน การขาดสารอาหารในวัยเด็กซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างของฟัน การดูแลรักษาสุขภาวะในช่องปาก และ พฤติกรรมการกินอาหารโดยเฉพาะอาหารหวาน ที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคฟันผุ

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น